รีวิวซีรี่ย์เกาหลี START-UP สตาร์ทอัพ 4.0 บน NETFLIX

ซีรี่ย์เล่าถึงตัวละครทั้งสี่คนที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ต่างเดินตามความฝัน โดยเป้าหมายก้าวแรกของ (เกือบ) ทุกคนคือ “Sandbox” ซึ่งเป็นองค์กรที่สนุบสนุนด้านความรู้ เงินทุน สถานที่ และ facility ต่าง ๆ เพื่อให้เหล่าสตาร์ทอัพไปสู่เป้าหมายใหญ่ได้ง่ายขึ้น (น่าจะ inspired มาจาก Silicon Valley ซึ่งเป็น community ของเหล่าสตาร์ทอัพมืออาชีพ และเป็นหนึ่งในเป้าหมายสูงสุดของชาวสตาร์ทอัพทั่วโลก)

Start-Up ซีรีส์รักเกิดในวงการสตาร์ทอัพ การพบกันของแบซูจีและนัมจูฮยอก – THE  STANDARD

Start-Up (หรือ Original title คือ Seutateueob) ep.1 ของ Netflix ออนแอร์ครั้งแรกตั้งแต่ 17 ต.ค. 2020 ซีรีส์มันสนุกจริง ๆ และเขาก็ทำให้เราอินกับตัวละครอย่างโงหัวแทบไม่ขึ้น เสมือนเรากำลังเดินทางและเริ่มดำเนินสตาร์ทอัพไปพร้อม ๆ กับตัวละครเอก

ด้วย Start-Up มันเป็น ongoing series ที่ปล่อยเป็นตอน ๆ มาใหม่ทุก ๆ เสาร์-อาทิตย์ (มีทั้งหมด 16 episodes) ระหว่างที่เรารอ ep ใหม่มาฉายในวันเสาร์ถัดไป เราก็อยากจะเขียนถึง Start-Up เพื่อบันทึกความคิดความรู้สึกของเราที่มีต่อซีรีส์เรื่องนี้เอาไว้สักหน่อย โดย Start-Up ถือเป็นซีรีส์เกาหลีเรื่องแรกที่เราดูแล้วอยากเขียนเป็นบล็อก และเป็นซีรีส์เรื่องแรกที่เราจะเขียนบล็อกตั้งแต่ยังดูไม่จบทุก episodes

Start-Up เป็นซีรีส์เกาหลีของ Netflix เรื่องล่าสุดที่เล่าเกี่ยวกับวงการธุรกิจอีกเรื่อง ที่เพิ่งคลอดตาม Itaewon Class มาในช่วงท้ายปี ในขณะที่ Itaewon Class เน้นไปที่การทำร้านอาหารในย่านทำเลทองและการลงทุนในระยะยาว Start-Up จะเน้นพูดถึงธุรกิจสตาร์ทอัพ ซึ่งเป็นธุรกิจที่เน้นที่ไอเดียใหม่ ๆ การระดมทุนจากนายทุน และการเติบโตที่ไวกว่า SME (จึงมักใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน)

Start-Up เป็นเทรนด์ธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อความฝันของคนรุ่นใหม่และวิถีชีวิตของผู้คนในยุค 4.0 เป็นอย่างยิ่ง อาจเพราะชื่อเรียกอันสวยหรู อาจเพราะเราต่างเติบโตมากับเทคโนโลยี อาจเพราะเราอยากจะเปลี่ยนแปลงโลก อาจเพราะผลตอบแทนที่ประเมินค่าไม่ได้ อาจเพราะมี MarkZuckerberg กับ Steve Jobs เป็นไอดอล หรืออาจเพราะเบื่อระบบการทำงานแบบเก่า ๆ ฯลฯ แต่ทว่า เส้นทางนี้ โดยเฉพาะในช่วงตั้งไข่ มันไม่ง่าย ไม่ได้สวยหรู เช่นเดียวกับ Steve Jobs ที่ต้องเริ่มต้นเปิดเปอร์เซ็นต์ส่วนใหญ่ของนักล่าฝันในแวดวงสตาร์ทอัพจึงมักประสบความล้มเหลวมากกว่าประสบความสำเร็จ


  • Seo Dal-mi (Suzy Bae จาก Ashfall) เด็กสาวสู้ชีวิต เธอเลือกอยู่กับพ่อหลังจากพ่อแม่หย่ากัน แต่พอพ่อจากไป เธอก็มาอาศัยอยู่กับย่า (Hae-sook Kim จาก The Handmaiden) เธอฉลาดและมีความสามารถแต่ไม่ได้เรียนจบมหาวิทยาลัย ทำให้เธอไม่ได้บรรจุเป็นพนักงานประจำสักทีทั้งที่ตั้งใจทำงานหนักเพื่อองค์กรมาโดยตลอด เธอจึงลาออกและพยายามเข้าวงการสตาร์ทอัพ

  • Won In-jae (Han-na Kang จาก Empire of Lust) พี่สาวแท้ ๆ ของ Seo Dal-mi แต่เธอเลือกไปอยู่กับแม่และครอบครัวใหม่ของแม่ที่เป็นนักธุรกิจมหาเศรษฐี เธอช่วยพ่อใหม่ขยายอาณาจักรธุรกิจจนใหญ่โต แต่สุดท้ายพ่อใหม่ก็เอาไปยกให้ทายาทในไส้ของเขาทำต่อ ทำให้ In-jae ออกมาทำสตาร์ทอัพเอง เพื่อลบล้างคำสบประมาทที่ว่า เธอมีทุกวันนี้ได้เพราะเงินและเส้นสายของพ่อใหม่

  • Nam Do-san (Joo-Hyuk Nam จาก The Great Battle) นักคณิตศาสตร์โอลิมปิก เนิร์ดไอที ขอเงินพ่อแม่มาเริ่มลงทุนทำสตาร์ทอัพของตัวเองกับเพื่อนอีกสองคน “Samsan Tech” แต่จนแล้วจนเล่าก็ยังไม่มีนักลงทุนคนไหนสนใจที่จะมาลงทุนด้วย เขารู้สึกแย่ที่ทำให้พ่อแม่ผิดหวัง และการได้พบกับ Seo Dal-mi มันช่วยผลักดันเขาให้เขาปรับปรุงตัวเองและประสบความสำเร็จให้ได้

  • Han Ji-pyeong (Sun-ho Kim จาก Catch the Ghost) เป็นเด็กกำพร้าที่คุณย่าของ Seo Dal-mi เคยช่วยเหลือไว้ เขาเก่งด้านการลงทุนทำให้เขามีเงินส่งตัวเองเข้ามหาวิทยาลัยโซล มีหน้าที่การงานดี ฐานะการเงินมั่นคง และมีชีวิตที่สุขสบาย แต่เขาต้องมาช่วย Seo Dal-mi และ Nam Do-san ทำสตาร์ทอัพให้สำเร็จ
Netflix ประกาศฉาย Start-Up ทำความรู้จัก 4 ตัวละครนำก่อนเจอกันตุลาคมนี้

แน่นอนว่า นอกจากพาร์ทของการทำธุรกิจแล้ว ซีรีส์ที่สนุกต้องมีสตอรี่หรือปมอื่น ๆ ด้วยเพื่อเพิ่มรสชาติและสีสัน หนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้คนดูอยากติดตามเอาใจช่วยและเวิร์กกับหนัง/ซีรีส์แทบทุกเรื่องคือ ปมรักสามเส้า ซึ่งสำหรับใน Start-Up ก็คือ…

สมัยที่ทุกคนยังเป็นวัยรุ่น คุณย่าเคยขอให้ Ji-pyeong เป็น pen pal ให้กับ Dal-mi หน่อย เพราะสงสารที่เธอต้องแยกกับพี่สาว แต่ในจดหมายพวกเขาใช้ชื่อปลอมโดยแรนดอมจากหน้าสนพ. ได้ชื่อว่า Nam Do-san ซึ่งตอนนั้นได้แชมป์คณิตศาสตร์โอลิมปิก ทำให้ Do-san กลายเป็นรักแรกของ Dal-mi ทั้งที่ไม่เคยเจอกัน